A-a ทัวร์ http://scoopy.siam2web.com/

ประวัติจังหวัดชุมพร

 

       คำว่า จังหวัดชุมพร เพิ่งเริ่มใช้ในปี พ.ศ.2459 โดยทางราชการเปลี่ยนนามท้องที่ที่เรียกว่า เมือง
อันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลว่า “จังหวัด” ส่วนคำว่าเมืองให้ใช้สำหรับเรียกตำบลที่ประชาชนได้เคยเรียกว่าเมือง
มาแล้วแต่เดิมอันเป็นเขตชุมชนเท่านั้น ในสมัยโบราณมีชื่อว่า “เมืองชุมพร” เมืองชุมพรเป็นเมืองเเก่าแก่เมือง
หนึ่งแต่จะตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน เพิ่งมาปรากฏตามตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับของหอ
สมุดแห่งชาติมีความตอนหนึ่งว่าเมื่อศักราชได้ 1098 ปี พระยาศรีธรรมาโศกราชก็สร้างเมืองลงบนหาดทราย
รอบเป็นเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสั่งให้ทำอิฐทำปูนก่อพระธาตุครั้งนั้น และยังมีพระพุทธสิหิงค์ล่องทะเลมาแต่่เมืองลังกาถึงเกาะปีนัง และลอยมาถึงหาดทรายแก้วที่จะก่อพระธาตุนั้น ต่อมาพระยาศรีธรรมาโศกราชได้ขุดพบพระธาตุแล้วแบ่งให้พระยาศรีธรรมาโศกราชไปก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่เหลือไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช่ แล้วตั้งเมืองสิบสองนักษัตรตามปูมโหรขึ้นแก่เมืองนครศรีธรรมราชให้ใช้ตรารูปสัตว์ประจำปีเป็นตราของเมือง
นั้นๆ คือ ปีชวดตั้งเมืองสายถือตราหนูหนึ่ง ปีฉลูเมืองตานีถือตราโคหนึ่ง ปีขาลเมืองกลันตันถือตราเสือหนึ่ง
ปีเถาะเมืองปาหัง ถือตรากระต่ายหนึ่ง ปีมะโรงเมืองไทรถือตรางูใหญ่หนึ่ง ปีมะเส็งเมืองพัทลุงถือตรางูเล็กหนึ่ง
ปีมะเมียเมืองตรังถือตราม้าหนึ่ง ปีมะแมเมืองชุมพรถือตราแพะหนึ่ง ปีวอกเมืองปันทายสมอถือตราลิงหนึ่ง
ปีระกาเมืองอุลาถือตราไก่หนึ่ง ปีจอเมืองตะกั่วป่าถือตราสุนัขหนึ่ง ปีกุนเมืองกระถือตราหมูหนึ่ง เข้ากัน 12 เมืองมาช่วยทำอิฐปูนก่อพระธาตุขึ้นตามตำนานนี้เมืองนครศรีธรรมราชสมัยนั้นมีอำนาจมาก ปรากฏว่ามีเมืองชุมพรเป็นเมืองขึ้นอยู่เมืองหนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.1098 เมืองชุมพรในสมัยนั้นปรากฏว่า เป็นเมืองด่านเพราะอยู่ระหว่างช่องแคบมลายูเป็นเมืองด่านหรือแคว้นเทพนครหรือแคว้นอู่ทอง ในสมัยต่อมาไม่มีหลักฐานที่อ้างอิงหรือกล่าวถึงเมืองชุมพรไว้เลย จึงมีผูู้้เข้าใจว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา เมื่อปีจอ พุทธศักราช 1997 (จ.ศ.816) ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเจ้าอยู่หัวในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงซึ่งได้โ้ปรดให้ชำระขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ได้มีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าสั่งว่า บรรดาข้าราชการอยู่บนหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวงให้ถือศักดินาตามพระราชบัญญัตและปรากฏว่ามีออกญาเคางะทราธิบดีศรีิสุรัตวลุมหนักพระชุมพร เมืองตรีถือศักดินา 5,000 ไร่ เป็นอันรับรู้ว่าเมืองชุมพรเป็นเมืองตรีและเกิดขึ้นแล้วในแผ่นดินของพระองค์ แต่ต้องเข้าใจว่าก่อนที่จะได้เป็นเมืองตรี เมืองชุมพรจะต้องเป็นเมืองเล็กมาก่อนจึงไม่มีหลักฐานในประวัติศาสตร์ไว้ให้เห็นชัด เพิ่งมาปรากฏแน่ชัดขึ้นว่าเมืองชุมพรเป็นหัวเมืองหนึ่งในหัวเมืองปักษ์ใต้้ตั้งแต่ปี พ.ศ.19997 เป็นต้นมา หรือประมาณ 503 ปีเศษแล้ว

        เมืองชุมพรจะตั้งอยู่ ณ ตำบลใด ที่ใดไม่มีหลักฐานที่แน่นอนทั้งนี้เมืองชุมพรไม่มีโบราณวัตถุุที่เป็น
พยานหลักฐานว่าเมืองแต่โบราณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเรียบเรียงไว้ใน
ตำนานเมืองระนอง ความตอนหนึ่งว่า"เมืองชุมพรประหลาดผิดกับเมืองอื่นในแหลมมลายู เมืองที่ตั้งมาแต่
โบราณ เช่น เมืองไชยา เมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น ล้วนมีโบราณวัตถุและมีตัวเมืองปรากฏอยู่บ้างรู้ได้ว่าเป็น้เมืองมาแต่โบราณ แต่เมืองชุมพรยังไม่ได้พบโบราณสถานวัตถุเป็นสำคัญแต่อย่างใด อาจจะเป็นด้วยเหตุ 2ประการ คือ มีที่นาไม่พอกับคนประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอยู่ตรงคอคอดแหลมมลายู มักเป็นสมรภูมิิรบพุ่ง
กันตรงนี้ จึงไม่สร้างเมืองถาวรไว้ แต่ก็ต้องรักษาไว้เป็นเมืองด่าน" นอกจากเหตุผล 2 ประการดังกล่าวแล้ว
พิจารณาจากสภาพตามธรรมชาติแล้วยังมีเหตุผลอีกอย่างหนึ่ง คือ ที่ท้องที่ตั้งจังหวัดชุมพรเป็นที่ราบต่ำน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร เรือกสวนไร่นาเสียหายอยู่เสมอ บางปีน้ำท่วมถึง 2 - 3 ครั้ง ภัยจากน้ำท่วมอาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่นิยมสร้างถาวรวัตถุไว้ให้ปรากฏแก่ชนรุ่นหลังก็ได้ แม้แต่บ้านเรือนราษฎรในเมืองก็ไม่ปรากฏว่าได้ก่อสร้างอาคารถาวรเป็นเรือนตึกหรือคอนกรีต เพิ่งจะมีตึกขึ้นเป็นครั้งแรกในตลาดชุมพร เมื่อ พ.ศ.2491 นี้เอง

        อย่างไรก็ดี จากหลักฐานบางอย่างปรากฏว่ามีหมู่บ้านหนึ่งอยู่ใกล้วัดประเดิมอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำชุมพร
เรียกว่า “บ้านวัดประเดิม” หรือ “บ้านประเดิม” ปัจจุบันอยู่หมู่ที่ 20 ตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร พิจารณา
ตามลักษณะภูมิประเทศจะเห็นว่ามีคลองสองคลองไหลมาเกือบบรรจบกัน และในระหว่างคลองทั้งสอง คือ คลองชุมพรและคลองท่าตะเภา ซึ่งขณะนี้เรียกกันว่าคลองร่วมเมืองชุมพรตั้งอยู่ ณ คลองท่าตะเภา หาใช่ตั้งที่
่คลองชุมพรตามชื่อเมืองไม่ จึงเป็นเหตุหนึ่งทำให้สันนิษฐานว่า เมืองชุมพรแต่เดิมน่าจะอยู่ที่คลองชุมพร โดยใช้ชื่ออย่างเดียวกัน นอกจากนั้นบริเวณใกล้เคียงวัดมีวัดใหญ่อยู่บริเวณใกล้เคียงหลายวัดคือ วัดประเดิม วัดนอกวัดพระขวาง และวัดวังไผ่ ส่วนวัดประเดิมเป็นวัดใหญ่ที่สำคัญ ชาวบ้านนับถือและพากันไปทำบุญมากกว่าวัดอื่นๆซึ่งตามธรรมดาที่ตั้งเมืองโบราณมักจะมีวัดมากและตั้งอยู่ติดๆกันบริเวณวัดประเดิมถัดมาทางทิศเหนือมีอิฐแผ่นใหญ่ ่จมอยู่ในดินบางแห่ง และมีหลักเมืองแห่งหนึ่งใกล้ๆวัดประเดิม หลักเมืองนี้ชาวบ้านในปัจจุบันมักไม่ค่อยรู้จักว่าเป็นอะไร เพราะสภาพในปัจจุบันเป็นเพียงหินก้อนหนึ่งปักอยู่ในดินใต้ต้นข่อยใหญ่ ชาวบ้านใกล้เคียงเรียกกันว่า “พระข่อย” ถือเป็นเทพารักษ์ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ตามธรรมดาเมืองโบราณจะต้องมีหลักเมือง พระเสื้อเมืองเป็นประจำเมือง ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ จึงสันนิษฐานว่าเมืองชุมพรเดิมตั้งอยู่ ณ บ้านประเดิม ทางฝั่งซ้ายของเมืองชุมพร จึงมีชื่อตรงกับชื่อคลองอยู่ห่างจากเมืองชุมพรในปัจจุบันไปทาง
ทิศใต้ประมาณ 5 กิิโลเมตร

       ต่อมาสันนิษฐานว่าได้ย้ายตัวเมืองไปตั้งอยู่ ณ บ้านท่ายาง ตำบลท่ายาง โดยมีหลักฐานอ้างอิงว่า เมื่อ
พ.ศ. 2357 ปีจอ ฉศก.(จ.ศ. 1176) ในรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ได้ทรงส่งสงฆ์ไทยจำนวน 7 รูป เป็นสมณทูตออกไปเมืองลังกาโดยทางเรือ โดยมีขุนทรงวิชัยหมื่นไกรคุมเครื่องดอกไม้เงินทองไปบูชาพระเจดีย์ฐานทั้งทั้ง 15 ตำบล ครั้นวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 2 เวลา 4 โมง มีคลื่นจัดเรือได้เกยหาดมัทรี ปากน้ำชุมพรแตก คณะทูตได้ส่งคนออกหาบ้านคนแล้วโดยสารเรือจับปลามาถึงเมืองชุมพรได้ขออาหารจากเจ้าอธิการวัดท่ายางบริโภค แล้วพากันมาหาเจ้าเมืองกรมการเมืองชุมพรได้ป่าวร้องให้ราษฎรจัดแจงหาอาหารมาถวายพระสมณทูตแล้วออกไปรับพระสงฆ์สมณทูตกับคณะเข้ามา ณ เมืองชุมพร นิมนต์ให้พระสงฆ์อาศัยในวัดท่ายาง คราวนี้จะเห็นได้ว่า เมืองชุมพรในปี พ.ศ. 2357 ตั้งอยู่ ณ ตำบลท่ายาง ภูมิฐานของตำบลท่ายางในปัจจุบันนี้ยังมีบ้านเรือนหนาแน่น และใกล้กับปากอ่าวมีเรือสินค้าขนาดใหญ่ไปมาสะดวกบัดนี้ก็ยังเป็นท่าเรือสินค้ามีเรือต่างๆ จากกรุงเทพมหานครบรรทุกสินค้ามาขึ้นแล้วบรรทุกรถยนต์ไปในเมืองอยู่เสมอ ท่ายางเป็นตำบลใหญ่ตำบลหนึ่ง ขณะนี้มีวัดถึง 7 วัด วัดที่อยู่ใกล้เคียงตลาดเก่ามีถึง 3 วัดติดกัน คือ วัดท่ายางใต้วัดท่ายางกลางและวัดท่ายางเหนือ ตำบลท่ายางจึงน่าจะเป็นที่ตั้งเมืองชุมพรในสมัยต่อมา แต่ย้ายมาเมื่อใดยังไม่พบหลักฐานแน่นอน เมื่อตรวจสอบหลักฐานที่พอเชื่อถือได้ พบว่าเมื่อปี พ.ศ. 2433 (ร.ศ.109) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินประพาสแหลมมลายูได้เสด็จประทับที่เมืองชุมพรแล้วทรงม้าทรงช้างพระที่นั่งไปยังเมืองกระบุรี จังหวัดระนอง พลับพลาที่ประทับที่ชุมพรอยู่ทางใต้ของคลองท่าตะเภาโดยมีทุ่งตีนสาย หนองหว้า หนองหวาย ตำบลกรอกธรณี ปัจจุบันขึ้นกับคลองท่าตะเภาโดยมีทุ่งตีนสาย หนองหว้า หนองหวาย ตำบลกรอกธรณี (ปัจจุบันคือตำบลตากแดด) อยู่หลังพลับพลาทุ่งตีนสายยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้อยู่ใกล้วัดสุบรรณนิมิตรไปทางทิศตะวันตกและได้ทรงเรือข้ามไปที่บ้านท่าตะเภา ขึ้นที่หน้าบ้านเจ้าเมืองก่อนแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปตามริมฝั่งบ้านเรือนราษฎร จึงเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อ พ.ศ. 2433 (ร.ศ.109) เมืองชุมพรได้มาตั้งอยู่ที่คลองท่าตะเภาแล้ว ตัวเมืองและสถานที่ราชการหาใช่ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ อยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับทุ่งตีนสายและบริเวณบ้านท่าตะเภาเหนือ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ได้เสด็จโดยทางเรือพระที่นั่ง 12 กรรเชียงถึงพลับพลาที่ท่าตะเภาเหนือ ไปถึงหมู่บ้านที่เป็นเมืองชุมพร เวลาจวนค่ำเสด็จพระราชดำเนินที่หมู่บ้านท่่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร ตลาดท่าตะเภาเดิมอยู่ตรงข้ามบ้านทุ่งตีนสาย บริเวณระหว่างที่ทำการป่าไม้จังหวัดกับตลาดในปัจจุบันนี่ ตลาดท่าตะเภานี้แต่เดิมเป็นป่ามีเสือชุกชุมมากจนขึ้นชื่อว่า เสือชุมพรดุมาก เมื่อทางราชการตัดทางรถไฟสายใต้ผ่านตัวเมืองชุมพร ป่าเสือก็กลายสภาพเป็นตลาดการค้า ต่อมาตัวเมืองได้ย้ายอีกแต่ไม่ทราบว่าเมื่อใด เนื่องจาก ไม่มีีหลักฐานแน่นอน แต่จะต้องหลังจาก พ.ศ. 2433 (ร.ศ.109) แล้ว ปรากฏว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดการปกครองท้องที่ใหม่ โดยแบ่งการปกครองออกเป็นเมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน หลายเมืองรวมเป็นมณฑลเทศาภิบาล ในปีพุทธศักราช 2439(ร.ศ.115)ได้ตั้งมณฑลชุมพรขึ้น ตั้งศาลารัฐบาล ณ จังหวัดชุมพร ปรากฏหลักฐานว่าตัวเมืองชุมพรได้ย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่ริมคลองท่าตะเภา คือที่ปลูกบ้านพักนายอำเภอเมืองชุมพรอยู่ใกล้จวนผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันเหตุผลที่จำเป็นต้องย้ายเมืองจากบ้านประเดิมและตำบลท่ายางมาอยู่ที่คลองท่าตะเภาไม่พบหลักฐาน ณ ที่ใด แต่เท่าที่ค้นคว้าน่าจะเป็นเพราะเหตุสองประการดังต่อไปนี้ คือ

            (1) คลองชุมพรอันเป็นที่ตั้งเมืองมาแต่เดิม เคยใช้เป็นทางเรือสำเภาใหญ่ๆสัญจรและบรรทุกสินค้า
ไปมากับจังหวัดใกล้เคียงและต่างประเทศมีระยะไกลจากปากอ่าว ประกอบกับคลองท่าตะเภาเป็นท่าเรืออยู่ก่อน
แล้ว ความเจริญก็มีมากทำเลการทำมาหากินก็ดีขึ้น ประกอบกับขณะนั้นประชาชน ณ เมืองชุมพรเดิมคงจะถูกพม่ารุกรานจึงเที่ยวหลบซ่อนหาที่ตั้งบ้านเรือนใหม่ จึงได้อพยพกันมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินที่บ้านท่าตะเภามากขึ้นกลายเป็นท้องที่ที่ ประชาชนหนาแน่น จึงเป็นเหตุหนึ่งให้ย้ายเมืองชุมพรไปจากบ้านประเดิม (2) ปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมืองชุมพรถูกพม่ายกทัพมาย่ำยีหลายครั้งที่สำคัญมี 2 ครั้ง คือ

       ก. ในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยาอัมรินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2307 ปีจอ ฉศก (จ.ศ. 1126) พระเจ้าอังวะ มังระแห่งพุกาม
ประเทศ ได้จัดกองทัพใหญ่พลฉกรรจ์สองหมื่นห้าพันมาตีกรุงศรีอยุธยา แยกไปทางเหนือทัพหนึ่ง แยกไปทางใต้ทัพหนึ่ง
มีมังมหานรธาโบชุกเป็นแม่ทัพถือพลหมื่นห้าพันยกมาตีเมือง
ทวาย มะริด และตะนาวศรี หุยตองจากเจ้าเมืองทวายสู้ไม่ได้หลบหนีเข้าไปทางเมืองกระเข้ามาอยู่เมืองชุมพร
ทัพพม่ายกติดตามไป เมื่อตีได้้แล้วเผาเมืองชุมพรเสียแล้วยกเข้ามาตีเมืองปะทิว เมืองกุย เมืองปรานแตกทั้ง
สามเมือง แล้วกลับเข้าไปเมืองทวาย
       ข. ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. 2238 ปีมะเส็ง สัปตศก (จ.ศ.1147) พระเจ้า
ปดุงแห่งประเทศพม่า จัดกองทัพใหญ่มีพลหนึ่งแสนสามพันคนแยกเป็นหลายกองทัพมาย่ำยี ประเทศไทย ตั้งแต่
เมืองเชียงใหม่มาจนถึงเมืองถลาง (ภูเก็ต) ทางด้านปักษ์ใต้ได้แก่หวุ่นแมงญีเป็นแม่ทัพใหญ่ ให้เนมโยตุงนรัตน์
เป็นแม่ทัพหน้ายกมาทางเมืองกระ เมืองระนอง เข้าตีเมืองชุมพร เจ้าเมืองกรมการเมืองชุมพร
มีไพร่พลสำหรับป้องกันเมืองน้อยก็เทครัวเข้าป่า ทัพพม่ายกเข้าตีเมืองชุมพรได้แล้วเผาเมืองชุมพรเสีย ทัพหน้า
เลยเข้าไปตีเมืองไชยา แล้วก็เผาเมืองไชยาเสียด้วย ส่วนทัพใหญ่ยังคงตั้งอยู่เมืองชุมพร ต่อมากองทัพหลวง
มาจากกรุงเทพฯจึงตีกองพม่าแตกไป ในสมัยนี้บ้านเมืองก็คงจะร่วงโรย มีผู้คนเหลือน้อย ต่างกระจัดกระจาย
กันไปเช่นเดียวกับเมืองระนอง เมื่อเมืองชุมพรได้มาตั้งอยู่คลองท่าตะเภาแล้วที่ตรงนั้นอยู่ริมน้ำตกถูกน้ำเซาะ
ตลิ่งพัง จึงได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ในสถานที่ซึ่งเป็นบริเวณหน้าศาลจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน เป็นสมัยที่พระสำเริง
นฤปการเป็นเจ้าเมือง ในปี พ.ศ. 2460 พระยาคงคาธราธิบดี สมุหเทศาภิบาลมณฑลสุราษฎรได้ขอเงินงบ
์ประมาณเพื่อสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นใหม่ที่ตำบลท่าตะเภา คือ บริเวณเทศบาลเมืองชุมพร และสำนักงาน
ที่ดินจังหวัดในปัจจุบัน ก่อสร้างเสร็จเปิดทำงาน ณ ศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ เมื่อ 3 เมษายน 2462
เวลา 08.00 น. ในสมัยอำมาตย์ตรีพระชุมพรศรีสมุทรเขต(บัว) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยเหตุนี้ทางราชการ
จึงถือว่า วันที่ 3 เมษายน เป็นวันที่ระลึกของจังหวัดชุมพร

        เมืองชุมพรได้เป็นที่ศาลารัฐบาลมณฑลชุมพรด้วย เมื่อเริ่มตั้งเป็นมณฑลขึ้นแล้ว ในปี พ.ศ. 2437
มีเมืองขึ้นกับมณฑลนี้ 3 เมือง คือ เมืองสุราษฎร์ธานี เมืองชุมพร และเมืองหลังสวน ต่อมาในพ.ศ. 2448 (ร.ศ.124)ได้ย้ายศาลาเทศบาลมณฑลชุมพรไปอยู่ที่บ้านดอน ซึ่งเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้ตรงกับท้องที่ที่ตั้ง
มณฑล ในปี พ.ศ. 2468 ได้ประกาศยกเลิกมณฑลสุราษฎร์ธานี และโอนการปกครอง 3 จังหวัด รวมทั้งจังหวัด
ชุมพรด้วยไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช หลังจากยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลทุกมณฑล ในปี พ.ศ. 2476 เป็นเหตุให้ยกเลิกมณฑลนครศรีธรรมราชไปด้วย จังหวัดชุมพรจึงเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรขึ้นตรงต่อราชการ บริหารส่วนกลางจนทุกวันนี้




Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,139 Today: 3 PageView/Month: 4

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...